Last updated: 17 ก.พ. 2566 | 540 จำนวนผู้เข้าชม |
น้ำมันมะพร้าวธรรมชาติ
น้ำมันมะพร้าวธรรมชาติเป็นน้ำมันที่ได้จากเนื้อของมะพร้าว โดย 65% ของน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันชนิดสายโซ่ยาวปานกลางชนิด Medium-Chain Triglycerides(MCT)
ซึ่งมีโครงสร้างหลักประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน 6-10 อะตอม
เชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพหลายประการ โดยคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งคือช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย(Metabolic rate) จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยให้ความจำดีขึ้นในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางประเภท ไม่เพียงเท่านั้นในน้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก(Lauric acid)ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดเป็นองค์ประกอบอยู่จำนวนมาก
ปัจจุบันยังมีการนำน้ำมันมะพร้าวมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางต่างๆอีกด้วยเนื่องจากคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและให้การปกป้องผิวที่ดีของน้ำมันมะพร้าว
ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันมะพร้าวชนิดใช้รับประทานออกมาจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนมาก อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะของน้ำมันมะพร้าวที่มีความมันเหนอะ และรสชาติที่รับประทานยาก การรับประทานน้ำมันมะพร้าวธรรมชาติในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นทางเลือกที่สะดวก ง่าย และยังคงคุณประโยชน์แทบครบถ้วน
น้ำมันมะพร้าวอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยทั่วไปแล้วไขมันชนิดอิ่มตัวอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ดีจากการศึกษาใหม่ๆในมนุษย์หลายการศึกษาบ่งชี้ว่าน้ำมันมะพร้าวให้ผลต่างออกไปและอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จากผลการศึกษาการใช้น้ำมันมะพร้าวจำนวนมากทั้งแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ(Randomized-controlled trials) และแบบ Meta-analysis พบว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี(HDL)ในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ ไม่ทำให้ไขมันในเลือดแย่ลง และไม่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับไขมันหรือน้ำมันหลายชนิดจากพืชและสัตว์ การบริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงปลอดภัย และอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
น้ำมันมะพร้าวเพิ่มความจำในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ ถูกค้นพบและรายงานเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยจิตแพทย์และนักประสาทวิทยาชาวเยอรมันชื่อ Alois Alzheimer ได้รายงานว่าพบคนไข้โรคนี้รายแรกโดยมีลักษณะอาการป่วยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ มีอาการความจำเสื่อม(Impaired memory), พูดลำบาก(Aphasia), อาการสับสน(Disorientation), สูญเสียความสามารถเข้าสังคม(Psychosocial Incompetence) และสุดท้ายคนไข้ของเขาได้เสียชีวิตลง ปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่มีหนทางป้องกันหรือรักษาโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยต้องประสบความทุกข์ทรมานและมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ มีผู้ป่วยชาวอเมริกันกว่า 5 ล้านคนรวมอีกหลายล้านทั่วโลกป่วยกำลังป่วยด้วยโรคนี้
และเมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวโด่งดังไปทั่วโลกชิ้นหนึ่ง เกี่ยวกับการทดลองรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ด้วยน้ำมันมะพร้าว การทดลองรักษานี้มีจุดเริ่มต้นจากสามีของคุณหมอแมรี่-แพทย์ชาวอเมริกันท่านหนึ่งเริ่มป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์และมีอาการแย่ลงเรื่อยๆตลอดเวลาเกือบ 7 ปีที่ป่วยโดยไม่มีหนทางรักษาเยียวยาใดๆ ในที่สุดคุณหมอแมรี่ได้เริ่มศึกษา ค้นคว้า ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแขนงต่างๆ และตัดสินใจที่จะทำการรักษาสามีด้วยวิธีการใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน คือ การรักษาโรคอัลไซเมอร์ของสามีด้วยการให้รับประทานน้ำมันมะพร้าว ระหว่างการรักษามีการประเมินและตรวจการทำงานของสมองเป็นระยะด้วยภาพเอ็กซเรย์(MRI) ตลอดเวลาหลายปีของการรักษา สามีของคุณหมอมีอาการต่างๆดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ภายในไม่กี่วันแรกหลังจากเริ่มการรักษาด้วยวิธีการใหม่นี้ จนคุณหมอแมรี่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิธีการรักษาดังกล่าวและโด่งดังในเวลาต่อมา หนังสือของคุณหมอแมรี่มีชื่อว่า ALZHEIMER’S DISEASE : What If There Was a Cure?
จากองค์ความรู้ใหม่ๆที่คุณหมอได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ บอกเราให้ทราบว่าเมื่อร่างกายได้รับอาหารที่มีกรดไขมันชนิดสายโช่ยาวปานกลาง(Medium-chain fatty acids) กรดไขมันดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็นสารคีโตน(Ketone body)ที่ตับได้อย่างรวดเร็ว สารคีโตนนี้เองเป็นแหล่งพลังงานโดยตรงสำหรับเซลล์สมอง โดยเฉพาะผู้ที่เซลล์สมองไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานได้
ทั้งนี้น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวชนิดสายโซ่ยาวปานกลางดังกล่าวปริมาณมาก เมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยเพิ่มสารคีโตน(Ketone body)ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ดีให้แก่เซลล์สมองรวมถึงเซลล์อีกหลายชนิดในร่างกาย ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ มีการศึกษาที่ทำอย่างเป็นระบบแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ(Randomized-controlled trial)เพื่อศึกษาผลของการรับประทานน้ำมันมะพร้าวต่อผู้ที่เป็นโรคความจำเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์(Alzheimer’s Disease - AD) โดยผู้ป่วยกลุ่มทดสอบให้ทานอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนที่อุดมไปด้วยน้ำมันมะพร้าวตลอด 21 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมให้ทานอาหารปกติทั่วไป ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ทานอาหารแบบเมดิเตอเรเนียนมีความจำดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ทานอาหารปกติทั่วไป และยังพบอีกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิงได้ประโยชน์มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเพศชายด้วย อย่างไรก็ดียังคงต้องรอผลการศึกษาใหม่ๆเพิ่มเติม เพื่อยืนยันประสิทธิผลของน้ำมันมะพร้าวเกี่ยวกับเรื่องนี้
น้ำมันมะพร้าวกับการ ควบคุมน้ำหนัก
น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติแตกต่างจากน้ำมันจากสัตว์หรือพืชชนิดอื่นๆหลายประการ กล่าวคือ มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวถึง 90% ของไขมันทั้งหมด โดยมีกรดไขมันชนิดสายโซ่ยาวปานกลางชนิด Medium-Chain Triglycerides(MCT)คิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 60% ของปริมาณไขมันอิ่มตัวดังกล่าว กรดไขมันชนิด MCT นี้สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงและเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว มีผลช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย(Metabolic rate) จึงคาดหมายว่าน้ำมันมะพร้าวอาจช่วยลดน้ำหนักในผู้ที่มีภาวะอ้วนได้ การศึกษาหนึ่งทำในอาสาสมัครหญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง(รอบเอวเกิน 88 เซนติเมตร)จำนวน 40 คน แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดสอบให้ทานน้ำมันมะพร้าว 2 ช้อนโต๊ะ(30 มิลลิลิตร)ต่อวัน ส่วนกลุ่มควบคุมให้ทานน้ำมันถั่วเหลืองปริมาณต่อวันเท่ากัน โดยควบคุมแคลอรี่ในอาหารทั้ง 2 กลุ่มและเดินออกกำลังกายทุกวันร่วมด้วย หลังการศึกษานาน 3 เดือนพบว่ากลุ่มทดสอบซึ่งทานน้ำมันมะพร้าวเท่านั้นที่มีค่าดัชนีมวลกาย(BMI)ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และยังมีค่าไขมันในเลือดดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ทานน้ำมันถั่วเหลือง จากผลการศึกษาดังกล่าวชี้ว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมหรือลดน้ำหนักโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ประโยชน์นานาของน้ำมันมะพร้าว
ในน้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันที่มีประโยชน์มากมายหลากหลายชนิด โดยเฉพาะกรดลอริก(Lauric acid)ซึ่งมีอยู่ในปริมาณสูง กรดลอริกยังพบได้ในน้ำนมแม่อีกด้วย เมื่อรับประทานน้ำมันมะพร้าว กรดลอริกจะถูกเปลี่ยนเป็นสารโมโนลอริน(Monolaurin) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อโรคหลายชนิด จึงมีการรับประทานน้ำมันมะพร้าวเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนั้นยังมีการนำน้ำมันมะพร้าวไปเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง สารชำระล้าง และแม้แต่ยาฆ่าแมลงอีกด้วย
น้ำมันมะพร้าวกับสุขอนามัยในช่องปาก
กรดลอริก(Lauric Acid)ในน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติสามารถยับยั้งเชื้อโรคได้หลากหลายชนิด ประโยชน์อันหนึ่ง คือ การนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้เพื่อรักษาสุขอนามัยในช่องปากได้ผลดี การศึกษาแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบหลายการศึกษาในอาสาสมัครจำนวนหนึ่ง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่กลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าว กับกลุ่มที่กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน(Chloehexidine ผลการศึกษาพบว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยยับยั้งการเกิดคราบพลัค(Plaque)ที่เหงือกและช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย S.Mutans ที่เป็นสาเหตุของฟันผุลงได้ดีเหมือนกับน้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีน แต่สามารถลดคราบฟัน(Tooth Staining)ได้ดีกว่า การใช้น้ำมันมะพร้าวจึงอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับการดูแลสุขอนามัยในช่องปากเป็นประจำ
ใครบ้างที่เหมาะกับน้ำมันมะพร้าว
• ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดัน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน
• ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคความจำเสื่อม
• ผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก
• ผู้ที่ดูแลสุขภาพ
• ผู้ที่ต้องการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย
การเลือกทานน้ำมันมะพร้าวในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(Supplement)เป็นวิธีที่สะดวกและง่าย อย่างไรก็ดีควรเลือกผู้ผลิตที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ ผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารอันตรายปนเปื้อน และควรสกัดจากธรรมชาติโดยมองหาคำว่า Organic เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้น้ำมันมะพร้าวที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีประโยชน์ครบถ้วนอย่างแท้จริง
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว สอบถามเพิ่มเติมที่ :
Line official : @VITAMATECLUB
เอกสารอ้างอิง
1. Randomised trial of coconut oil, olive oil or butter on blood lipids and other cardiovascular risk factors in healthy men and women (BMJ Open. 2018 Mar 6;8(3):e020167.)
2. The Effect of Coconut Oil Consumption on Cardiovascular Risk Factors: A Systematic Review and Meta-Analysis of Clinical Trials (Circulation. 2020 Mar 10;141(10):803-814.)
3. Impact of coconut oil consumption on cardiovascular health: a systematic review and meta-analysis (Nutr Rev. 2020 Mar 1;78(3):249-259.)
4. A randomized study of coconut oil versus sunflower oil on cardiovascular risk factors in patients with stable coronary heart disease (Indian Heart J. 2016 Jul-Aug;68(4):498-506.)
5.Effects of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity (Lipids. 2009 Jul;44(7):593-601.)
6. Improvement of Main Cognitive Functions in Patients with Alzheimer's Disease(AD) after Treatment with Coconut Oil Enriched Mediterranean Diet: A Pilot Study (J Alzheimers Dis. 2018;65(2):577-587.)