Vitamate Calcium Magnesium Plus Zinc 60'S

คุณสมบัติสินค้า:

ไวตาเมท แคลเซี่ยม แมงกานีเซียม พลัส ซิงค์

แบรนด์ : Vitamate

Share

Vitamate Calcium Magnesium Plus Zinc 60'S
ไวตาเมท แคลเซี่ยม แมงกานีเซียม พลัส ซิงค์

 

PRODUCT OF USA



ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย

แคลเซียมคาร์บอเนต
แคลเซียมกลูโคเนต แอนไฮดรัส
วิตามินดี 3
แมกนีเซียมออกไซด์   
แมกนีเซียมกลูโคเนต แอนไฮดรัส
ซิงค์ซิเตรต
ซิงค์ กลูโคเนต  


กระดูกกับแคลเซียม

กระดูกเป็นเนื้อเยื่อมีชีวิต สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองตามภาวะการเผาผลาญของร่างกาย(Metabolism) และแรงกลที่กระทำต่อกระดูก(Mechanical)

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ความแข็งแรงและความหนาแน่นของกระดูกลดลง   เช่น   พันธุกรรม ฮอร์โมนในร่างกาย รูปแบบการดำเนินชีวิต การขาดการออกกำลังกาย อาหารบางชนิด การได้รับแคลเซียมและโปรตีนไม่เพียงพอ

เนื้อเยื่อกระดูกของเรา หากแบ่งตามประเภทของสารองค์ประกอบแล้ว  

60% ของน้ำหนักเกิดจากแร่ธาตุอนินทรีย์(Inorganic)หลายชนิดโดยมีผลึกแคลเซียมเป็นแร่ธาตุหลัก

30% ที่เหลือโดยน้ำหนักมีสารอินทรีย์(Organic)เป็นส่วนประกอบ โดย 90% ของสารอินทรีย์นี้คือโปรตีนคอลลาเจน

10% ที่เหลือคือน้ำ

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท  หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงมาใช้แทน ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและอ่อนแอลง เกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้

99% ของ Calcium ในร่างกายสะสมอยู่ในกระดูกและฟัน และทำหน้าที่เป็นแหล่งสำรองแคลเซียมเวลาที่ร่างกายขาดแคลนแคลเซียม

1% ที่เหลือจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจ การแบ่งเซลล์ การเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน  การแข็งตัวของเลือด ฯลฯ

แคลเซียมต้องทำงานร่วมกับแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เพื่อสร้างกระดูกที่แข็งแรงที่สุดให้กับเรา ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินเค, แมกนีเซียม ที่สำคัญ คือ โปรตีนคอลลาเจนที่เป็นแกนกลางของกระดูกตลอดระยะการเจริญเติบโต

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับสำหรับผู้ใหญ่ คือ 800-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน

จากสถิติคนไทยได้รับแคลเซี่ยมเฉลี่ยเพียง 361 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเพียง 1 ใน 3 ของปริมาณความต้องการ

 

ประโยชน์ของแคลเซียม

ป้องกันกระดูกพรุนและลดโอกาสกระดูกแตกหักในผู้สูงอายุ
ลดความเสี่ยงของโรคฟันผุในเด็ก 40%
จำเป็นต่อการพัฒนากระดูกและฟันของทารกในครรภ์
ลดความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) 55%
อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ราว 30%


ประโยชน์ของวิตามินดี, แมกนีเซียม, และซิงค์ ที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูก

วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหารไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น
แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในเนื้อกระดูก บำรุงเนื้อเยื่อกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน  เสริมประสิทธิภาพของแคลเซียมในการสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
ซิงค์ เกี่ยวข้องกับกระบวนการกระบวนการก่อรูปกระดูก(bone remodeling) ทำให้การสร้างและซ่อมแซมกระดูกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ พบว่าซิงค์เป็นแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด  ซิงค์ยังช่วยให้กล้ามเนื้อให้ตื่นตัว ไม่อ่อนล้า ป้องกันการเกิดตะคริว  


ประโยชน์ของแคลเซียมจากการศึกษาในมนุษย์

แคลเซียมเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก(WHO)  ระบุว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด  โดย 1 ใน 3 ของผู้หญิงและ 1 ใน 5 ของผู้ชายที่อายุเกินกว่า 60 ปีมีภาวะกระดูกพรุน

จากสถิติทั่วโลก ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอายุ 60-90 ปี  พบภาวะกระดูกพรุนราว 10-60% และส่วนหนึ่งประสบปัญหากระดูกหักจากกระดูกพรุน

ตำแหน่งกระดูกที่หักที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระดูกแขน 80% รองลงมาคือ กระดูกสะโพก 70% และกระดูกสันหลัง 58%  สาเหตุสำคัญเกิดจากการขาดแคลเซียม

การศึกษาแบบ meta-analysis ในปี 2016 ที่ได้จากการศึกษาแบบจับฉลากแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ(Randomized controlled trials) รวม 11 การศึกษา สรุปได้ว่า

การรับประทานแคลเซียมเสริมช่วยลดความเสี่ยงกระดูกหักในผู้สูงอายุและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนลง 12%

การศึกษาอีกฉบับหนึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ the Journal of the American Medical Association  สรุปว่า  แคลเซียมและวิตามินดีเสริมช่วยลดความเสี่ยงกระดูกสะโพกหัก(hip fractures)ในผู้สูงอายุและหญิงอายุมากกว่า 65 ปีลง 16%

ลดความดันโลหิต

การศึกษา meta-analysis ในปี 2015 ที่ได้จากการศึกษาแบบ Randomized controlled trials รวม 12 การศึกษาสรุปว่า

แคลเซียมเสริมมีผลลดความดันโลหิตค่าบน(SBP)ลงเฉลี่ย 1.74 มิลลิเมตรปรอท(mmHg) และความดันโลหิตค่าล่าง(DBP) 0.91 มิลลิเมตรปรอท(mmHg)

แคลเซียมช่วยป้องกันฟันผุในเด็ก

การศึกษาในปี 2012 ชิ้นหนึ่งสรุปว่าการให้แคลเซียมเสริมในเด็ก ช่วยป้องกันฟันผุได้ 40%

ลดความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ(pre-eclampsia)

การศึกษา meta-analysis ในปี 2016 ที่ได้จากการศึกษาแบบ Randomized controlled trials รวม 13 การศึกษา สรุปได้ว่า

การรับประทานแคลเซียมเสริมช่วยลดความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษลงเฉลี่ย 55%

ป้องกันมะเร็งลำไส้(Colon cancer)

การศึกษา meta-analysis ในปี 2017 ที่ได้จากการศึกษาแบบ Randomized controlled trials รวม 23 การศึกษาได้สรุปว่า

แคลเซียมเสริมช่วยลดโอกาสเกิดติ่งเนื้องอกในลำไส้ลงเฉลี่ย 30%


ขนาดรับประทาน
วันละ 1 เม็ด พร้อมอาหาร



ขนาดบรรจุ
ขวด 60 เม็ด
 

เลขสารบบอาหาร
อย.13-2-00763-2-0044

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้